top of page

กิจกรรมที่ 2.1   โครงสร้างของภาษา C#

จุดประสงค์การเรียนรู้ :

1. อธิบายโครงสร้างของภาษา C# รูปแบบของภาษา C# และอีเวนต์ได้

2. เขียนคำสั่งอีเวนต์ด้วยภาษา C# ได้

 

 

        ในบทนี้จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมภาษา C# ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดเข้าใจในการเขียนโปรแกรมภาษา C# เบื้องต้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการต่อยอดในการเขียนโปรแกรมแบบ OOP และการใช้งาน .NET Framework อีกด้วย

1. โครงสร้างภาษา C#

      เมื่อใช้งานในส่วนของ WindowFormApplication จะมีส่วนที่ช่วยเพิ่มความง่ายในการเขียนโปรแกรมคำสั่งภาษา C# เนื่องจากส่วนนี้จะสร้างคำสั่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้งานจะเรียกส่วนนี้ขึ้นมาใช้งานได้เอง จากนั้นก็สามารถแก้ไข หรือเพิ่มเติมคำสั่งได้ตามความต้องการ  โดยมีรายละเอียดของคำสั่งเหล่านี้ ดังนี้

หมายเลขที่ 1    เป็นส่วน Header  ใช้สำหรับประกาศคำสั่งต่างๆ

หมายเลขที่ 2    เป็นส่วนประกาศ NameSpace ที่ชื่อว่า System

หมายเลขที่ 3    เป็นส่วนประกาศ NameSpace ที่ชื่อว่า Collections, ComponentModel, Data, Drawing, Linq, Text, Threading, Windows

หมายเลขที่ 4    เป็นส่วนประกาศ NameSpace ที่ชื่อว่า Generic, Tasks, Forms

หมายเลขที่ 5    เป็นส่วนประกาศ NameSpace ที่ชื่อว่า Apptest ซึ่งจะตรงกันกับชื่องานที่ตั้งขึ้นตอนที่สร้างโปรเจคใหม่

หมายเลขที่ 6    เป็นส่วนประกาศ Class ที่ชื่อว่า Form1 ซึ่งหมายถึง Form1 ที่เราสร้างขึ้นมานั่นเอง

หมายเลขที่ 7    เป็นส่วนประกาศ Constructor ของ Form1

หมายเลขที่ 8    เป็นส่วนประกาศ Method ของ Form1 ที่จะสั่งให้วัตถุต่างๆ ใน Form1 ทำงานเมื่อเปิด Form1

หมายเลขที่ 9    เป็นส่วนที่ใช้สำหรับพิมพ์ Statement หรือคำสั่งให้โปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ

 

          การกำหนดขอบเขตต่างๆ ของคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายปีกกาเปิด { เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของคำสั่ง และใช้เครื่องหมายปีกกาปิด } เพื่อบอกจุดสิ้นสุดของคำสั่งเสมอ จะสังเกตว่าส่วนของ namespace จะมีเครื่องหมายปีกกาเปิดและปิดคู่กันซึ่งจะเป็นส่วนที่คลุมคำสั่งทั้งหมดไว้อีกทั้งตำแหน่งของเครื่องหมายปีกกาก็จะตรงกันด้วย  หากผู้ใช้งานเผลอลบปีกกาอันใดอันหนึ่งไป ให้เติมเข้าไปให้ครบคู่ ไม่อย่างนั้นแล้วโปรแกรมจะไม่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

2. รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษา C#

          ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C# นั้นได้รับอิทธิพลมาจากภาษา C++ จึงมีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายคลึงกันและมีความคล้ายกับภาษา JAVA มากอีกภาษาหนึ่ง โดยที่คำสั่งนั้นจะถูกกำหนดให้อยู่ในบล็อกที่ครอบด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด { และเครื่องหมายปิด } นั่นเอง

          ภายในบล็อกนั้นจะประกอบไปด้วยคำสั่งซึ่งแต่ละคำสั่งแยกจากกัน(หรือสิ้นสุดลง) ด้วยเครื่องหมาย ; ซึ่งคำสั่งหนึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนจบภายในบรรทัดเดียวก็ได้ เพราะโปรแกรมจะใช้เครื่องหมาย ; เพื่อเป็นตัวบอกสิ้นสุดคำสั่งนั่นเอง

          ยกตัวอย่างการเขียนคำสั่งให้กับปุ่มปิดโปรแกรม ในการเขียนคำสั่งจะผูกติดกับวัตถุนั่นๆ แยกเป็นอิสระออกจากวัตถุอื่น ซึ่งง่ายต่อการแก้ไข เมื่อผู้ใช้งานนำcontrol Button (ปุ่ม) มาวางบน Form ปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆ ของปุ่มเรียบร้อย ผู้ใช้ก็เรียกส่วนการเขียนคำสั่งขึ้นมา แล้วเขียนคำสั่งปิดโปรแกรมลงไปในปุ่ม

3. รู้จัก Event

          ในการทำงานของออบเจ็กต์ที่อยู่บนแอพพลิเคชันที่ทำงานบน Window นั้นผู้ใช้งานย่อมพบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากทั้งการโต้ตอบกับผู้ใช้งาน, การทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น, หรือทำงานร่วมกับ Windows เอง เราเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับออบเจ็กต์ต่างๆ นี้ว่า อีเวนต์  ในการจัดการกับอีเวนต์นั้นไม่จำเป็นจะต้องทำทุกตัว แต่จะเลือกจัดการเฉพาะตัวที่สนใจเท่านั้น ซึ่งโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อจัดการกับอีเวนต์แต่ละตัวนั้นเรียกว่า Event Handler

          ในโปรแกรม Visual C# 2017 จะมีลักษณะการทำงานที่เรียกว่า Event Drivent คือมีการทำงานที่ตอบสนองต่ออีเวนต์ต่างๆ และมีลักษณะเป็น Visual คือมองเห็นได้ นั่นหมายถึงว่า ปุ่ม(Button) ที่วางบนฟอร์ม(Form) จะมีอีเวนต์คือ คลิกที่ปุ่ม แล้วคำสั่งต่างๆ ใน Method ที่ชื่อว่า button1_click จะทำงาน เป็นต้น ดังตัวอย่าง

          จากบล็อกคำสั่งในรูปที่ 2.1.4 อธิบายได้ว่า

          ออบเจ็กต์ที่ใช้ (Control)                               คือ  button1

          อีเวนต์หรือเหตุการณ์ของออบเจ็กต์นี้ (Event)        คือ  Click

          เมธอด(Method)                                       ชื่อว่า  button1_click

          คำสั่ง (Statement)                                    คือ this.close();  (สั่งให้ปิดโปรแกรม)

 

ดาวโหลดเอกสารประกอบการเรียน

ดาวน์โหลดใบงาน

bottom of page