top of page

กิจกรรมที่ 2.3  การแปลงชนิดข้อมูลและฟังก์ชันสำเร็จรูป

จุดประสงค์การเรียนรู้ :

1. อธิบายเกี่ยวกับการแปลงชนิดข้อมูลและฟังก์ชันสำเร็จรูปได้

2. เขียนคำสั่งภาษา C# เพื่อแปลงชนิดข้อมูลและเรียกใช้งานฟังก์ชันสำเร็จรูปได้

1. การแปลงชนิดข้อมูลในภาษา c#

        

การแปลงชนิดข้อมูลในภาษา c# หากข้อมูลไม่ใช่ชนิดเดียวกันจะไม่สามารถนำมากระทำการใดๆ กันได้ จึงต้องมีการแปลงชนิดข้อมูลให้เป็นชนิดเดียวกันก่อน ซึ่งมีรูปแบบการแปลงชนิดข้อมูล ดังนี้

  1. implicit type conversion

  2. explicit type conversion

  3. การใช้ เมธอด Parse

  4. การใช้ เมธอด ToString

 

1) Implicit type conversion คือ เป็นการแปลงชนิดข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เกิดจากการที่เรานำข้อมูลชนิดเดียวกันหรือต่างกันมากระทำกันทางคณิตศาสตร์ แล้วผลลัพธ์ที่ได้เกินขอบเขตของชนิดข้อมูล โดยจะแปลงไปสู่ขนาดของข้อมูลที่ใหญ่กว่าเสมอ ตามลำดับนัยสำคัญ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1

 

 

 

ผลลัพธ์ (answer) ที่ได้จะถูกแปลงเป็นชนิด double โดยอัตโนมัติ เนื่องจาก number2 เป็นชนิดข้อมูลแบบ double ซึ่งใหญ่กว่า number1 ที่เป็นชนิดข้อมูลแบบ int

 

ตัวอย่างที่ 2

 

 

 

 

 

ชนิดข้อมูลที่นำมารองรับไม่จำเป็นต้องเป็น double ก็ได้ เพียงแต่ขอให้รองรับกับผลลัพธ์ของ number1 + number2 ได้ก็พอ

 

ตัวอย่างที่ 3 เป็นตัวอย่างที่กำหนดชนิดข้อมูลผิด

 

 

 

 

 

 

จะทำให้โปรแกรม error เพราะเกินขอบเขตของตัวแปร int

2)  Explicit type conversion คือ ผู้เขียนโปรแกรมทําการแปลงชนิดข้อมูลหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งด้วยตัวเอง การแปลงชนิดข้อมูลนี้เรียกอีกอย่างว่า cast ซึ่งทําได้โดยระบุชนิดข้อมูลปลายทางที่ต้องการไว้ในวงเล็บ แล้ววางไว้หน้านิพจน์ที่ต้องการแปลงชนิดข้อมูล

ตัวอย่าง1

 

 

          จะเป็นการแปลง number1 + number2 เป็นข้อมูลชนิด int เพื่อที่จะทำให้ไม่เกินขอบเขตของตัวแปร Result ที่มารับ (ผลลัพธ์ที่เป็นทศนิยมจะถูกปัดทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้)

3)  การใช้ เมธอด Parse คือ เป็นการแปลงข้อมูลชนิด string หรือข้อความให้เป็นข้อมูลชนิดตัวเลข

ตัวอย่างที่ 1

 

 

เป็นการแปลงข้อมูลที่รับจาก textBox1 ซึ่งเป็นชนิดข้อมูลแบบข้อความ(string) ให้เป็นชนิดข้อมูลแบบตัวเลขจำนวนเต็ม(int) แล้วเก็บค่าในตัวแปร i

 

ตัวอย่างที่ 2

 

 

เป็นการแปลงข้อมูล “22.45” ซึ่งเป็นชนิดข้อมูลแบบข้อความ(string) ให้เป็นชนิดข้อมูลแบบตัวเลขทศนิยม(double)

แล้วเก็บค่าในตัวแปร i

4)  การใช้ เมธอด Tostring คือ เป็นการแปลงข้อมูลประเภทใดๆ ให้เป็นข้อมูลชนิดแบบข้อความ

ตัวอย่างที่ 1

 

 

เป็นการแปลงตัวเลข 20 ซึ่งเป็นข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (int) ให้เป็นชนิดข้อมูลแบบข้อความ แล้วแสดงผลใน textBox1

(textbox จะแสดงผลได้เฉพาะข้อมูลแบบข้อความ string)
 

ตัวอย่างที่ 2

 

 

เป็นการแปลงข้อมูลวันเวลาปัจจุบันให้เป็นชนิดข้อมูลแบบข้อความแล้วเก็บค่าในตัวแปร tme

2. ฟังก์ชันสำเร็จรูป

เป็นฟังก์ชันที่สามารถเขียนเรียกใช้งานได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องมาเขียนฟังก์ชันเองทำให้ผู้ใช้งานสะดวกในการนำมาใช้งาน ดังนี้

1. ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์  คือฟังก์ชันที่ใช้ในการคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีเทท็อด (Method) ที่ใช้งานดังนี้

2. ฟังก์ชันเกี่ยวกับ String  คือ ฟังก์ชันที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับข้อความ โดยมีเมท็อดที่ใช้งาน ดังนี้

3. ฟังก์ชันเกี่ยวกับเวลา  คือ ฟังก์ชันที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับเวลา โดยมีเมท็อดที่ใช้งาน ดังนี้

ดาวโหลดเอกสารประกอบการเรียน

ดาวน์โหลดใบงาน

bottom of page