top of page

จุดประสงค์การเรียนรู้ :

1. อธิบายเกี่ยวกับชนิดข้อมูล ตัวแปร ค่าคงที่ ตัวดำเนินการได้

2. เลือกใช้ชนิดข้อมูล ตัวแปร ค่าคงที่ ตัวดำเนินการในการเขียนโปรแกรมภาษา C#  ได้

3. เขียนคำสั่งภาษา C# เพื่อประกาศใช้งานชนิดข้อมูล ตัวแปร ค่าคงที่ และตัวดำเนินการได้

 

        การเขียนโปรแกรมภาษาใดก็ตามจะต้องมีการใช้งานข้อมูล (Data) ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ข้อความ , ตัวเลข, วันเวลา ฯลฯ โดยผู้ใช้งานจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาคำนวณหรือประมวลผลในรูปแบบต่างๆ ได้ก็ต่อเมื่อนำมาจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำภายในโปรแกรมที่เรียกว่าตัวแปร (Variable)

1. ชนิดข้อมูล (Data Type) ในภาษา C#

      ในภาษา C# กำหนดชนิดของข้อมูลไว้หลากหลายชนิดเพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลหลายๆ ประเภท ดังนี้

2. ตัวแปรและค่าคงที่

     2.1 ตัวแปร (Variable) เป็นการอ้างถึงข้อมูลโดยค่าของตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาที่โปรแกรมกำลังทำงานอยู่ ก่อนการใช้งานตัวแปรจะต้องถูกประกาศการใช้งานและต้องระบุชนิดของข้อมูลที่จะใช้กับตัวแปรนั้นๆ ไว้

 

  • รูปแบบการประกาศตัวแปร    

 

  

ตัวอย่างการประกาศตัวแปร

          int number ;               หมายถึง ตัวแปรชื่อ number เป็นชนิดข้อมูลแบบจำนวนเต็ม (int)

          double width, high ;    หมายถึง ตัวแปรชื่อ width และ high เป็นชนิดข้อมูลแบบทศนิยม(double)

 นอกจากนี้แล้วยังสามารถประกาศตัวแปรแบบมีการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรได้อีกด้วย ดังตัวอย่าง​

  • รูปแบบการประกาศตัวแปรที่มีการกำหนดค่าเริ่มต้น   

ตัวอย่างการประกาศตัวแปร

          int number=100 ;   หมายถึง ตัวแปรชื่อ number เป็นชนิดข้อมูลแบบจำนวนเต็ม (int) ที่มีการกำหนดค่าเริ่มต้นเท่ากับ 100

          double answer=0;  หมายถึง ตัวแปรชื่อ answer เป็นชนิดข้อมูลแบบทศนิยม (double) ที่มีการกำหนดค่าเริ่มต้นเท่ากับ 0

  • กฎเกณฑ์การตั้งชื่อตัวแปร มีดังนี้

  1. ตัวอักษรตัวแรกของชื่อต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวขีดเส้นใต้ (_)

  2. ต้องประกอบไปด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ (A-Z, a-z) ตัวเลข (0-9) หรือ เครื่องหมายขีดเส้นใต้ (_) เท่านั้น

  3. ต้องไม่ซ้ำกับคำสงวน (Reserved word)  โดยมีคำต่างๆ ดังตารางต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

     2.2  ค่าคงที่ (Constants)  ค่าคงที่เป็นการอ้างถึงข้อมูลเช่นเดียวกับตัวแปร สิ่งที่แตกต่างคือ ค่าของมันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีกหลักจากการประกาศ ในภาษา C# ค่าคงที่จะต้องถูกประกาศโดยระบุชนิดของข้อมูล ค่าตั้งต้น และ ต้องระบุคีย์เวิร์ด const ในการประกาศค่าคงที่ก่อนถูกนำมาใช้งานเสมอ

  • รูปแบบการประกาศค่าคงที่

 

 

ตัวอย่างการประกาศค่าคงที่

          const double pi=3.14 ;       หมายถึง ค่าคงที่ชื่อ pi เป็นชนิดข้อมูลแบบแบบทศนิยม(double) ที่มีค่าเท่ากับ 3.14

          const  int x=3;                   หมายถึง ค่าคงที่ชื่อ x เป็นชนิดข้อมูลแบบแบบจำนวนเต็ม(int) ที่มีค่าเท่ากับ 3

     2.3 ตัวดำเนินการ

          ในการเขียนโปรแกรมเราจะพบว่าตัวดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเขียนคำสั่งต่างๆ ให้โปรแกรมสามารถทำงานได้ตามที่เราต้องการ เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือการหาผลลัพธ์ต่างๆ โดยปกติแล้วในคำสั่งที่มีตัวดำเนินการนั่นจะเห็นว่าประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ส่วน และจะมีตัวดำเนินการคั่นอยู่ตรงกลาง ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้กับตัวดำเนินการเราเรียกว่า Operand

          ในการแบ่งประเภทของตัวดำเนินการนั้นมีการแบ่งอยู่หลายแบบ แต่ในที่นี้จะขอแบ่งประเภทของตัวดำเนินการตามรูปแบบการใช้งาน และขออธิบายเฉพาะตัวดำเนินการที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ ดังนี้

  • ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator)

  • ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Comparison Operator)

  • ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ (Logical Operator)

  • ตัวดำเนินการในการกำหนดค่า (Assignment Operator

  1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator)

ตัวดำเนินการชนิดนี้จะพบบ่อยที่สุด และยังถูกนำไปใช้งานบ่อยอีกด้วย ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการคำนวณที่เกิดจากข้อมูลทั้ง 2 ฝั่งของตัวดำเนินการ ซึ่งมีให้เลือกใช้งาน ดังต่อไปนี้

ถ้ามีการใช้ตัวดำเนินการมากกว่าหนึ่งตัว ภาษา C# จะคำนวณค่าโดยเรียงลำดับความสำคัญของเครื่องหมายดังนี้

  •  (  )

  • *  ,  /  และ  %

  • +  และ  -

  • หากตัวดำเนินการมีลำดับเท่าเทียมกันจะคำนวณจากซ้ายไปขวา

 

     2. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Comparison Operator)

ตัวดำเนินการเปรียบเทียบใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลสองข้างของตัวดำเนินการ ซึ่งผลที่ได้จากการเปรียบเทียบจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นจริง (True) หรือ เท็จ (False) เท่านั้น ตัวดำเนินการเปรียบเทียบมีดังนี้

     3. ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ (Logical Operator)

ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้านตรรกศาสตร์ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจริง (True) หรือเท็จ (False) เท่านั้น มีดังนี้

 

 

 

 

 

     4. ตัวดำเนินการในการกำหนดค่า (Assignment Operator)

ตัวดำเนินการกำหนดค่าสามารถใช้กำหนดค่าให้กับตัวแปร ดังตารางต่อไปนี้

 

 

ตัวดำเนินการอื่นๆ

  • +  สำหรับ string คือ การนำเอา string 2 ค่ามาต่อกัน (concatenate)

  • ++ เป็นการเพิ่มค่า  โดยที่ a++ เทียบเท่ากับ a=a+1

  • --  เป็นการลดค่า  โดยที่ a-- เทียบเท่ากับ a=a-1

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเรียน

ไอคอนโทรศัพท์

เกม มาสร้างตัวแปรกันเถอะ...

ดาวน์โหลดใบงาน

bottom of page