กิจกรรมที่ 1.1 ทำไมต้องภาษา C# และ Visual C# 2015
จุดประสงค์การเรียนรู้ :
1. อธิบายความสำคัญของภาษา C# และ โปรแกรม Visual C# 2015
2. บอกความเป็นมาของภาษา C# และ โปรแกรม Visual C# 2015
3. วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของภาษา C# และ โปรแกรม Visual C# 2015
ทำความรู้จักกับภาษา C#
1. ประวัติของภาษา C#
ในระหว่างการพัฒนาของ .NET Framework คลาสและไลบรารี่ต่างๆ ถูกเขียนขึ้นโดยระบบการจัดการโค้ดสำหรับการคอมไพล์ที่เรียกว่า Simple Managed C (SMC) ในเดือนมกราคม 1999 Anders Hejlsberg ได้ก่อตั้งทีมเพื่อสร้างภาษาใหม่ในเวลานั้น ทีเรียกว่า Cool ซึ่งเป็นคำย่อของ "C-like Object Oriented Language" ในเวลาที่โครงการ .NET ของ Microsoft ถูกเผยแพร่ในเดือนกรกฏาคม 2000 ในการประชุมของกลุ่มนักพัฒนามืออาชีพ ภาษาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น C# และคลาสไลบรารี่และ ASP.NET ได้ถูกเชื่อมเข้ากับ C#
ชื่อของภาษา "C Sharp" นั้น มีแรงบันดาลใจมาจากเครื่องหมายของเพลง โดย Sharp (#) นั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าโน้ตของดนตรีที่ถูกเขียนขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เสียงของดนตรีสูงขึ้น ซึ่งนี่จะคล้ายกับภาษา C++ โดย "++" ซึ่งหมายถึงค่าของตัวแปรจะเพิ่มขึ้นหนึ่ง นอกจากนี้มันยังเป็นภาษาที่หมายถึงการเพิ่มความสามารถของภาษา C++ นั่นเอง
2. ภาษา C# คืออะไร
ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภท object-oriented programming พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งมี Anders Hejlsberg เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งตอนนั้นได้ทำการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงวัตถุ 100% โดยได้นำเอาหลักการ ข้อดีของภาษา C, C++ ในด้านความสามารถในการคำนวณ การโปรแกรมที่ง่ายกว่าของ Visual Basic และ เก็บส่วนการทำงานคล้ายกับ Java มาเป็นต้นแบบในการพัฒนา ซึ่งทำงานอยู่บน .NET Framework
ภาษา C# ถูกรับรองจากหน่วยงาน ECMA (หน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลด้านสารสนเทศ) และ ISO และปัจจุบันไมโครซอฟท์ยังพัฒนาภาษานี้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีรุ่นล่าสุดคือ c# 5.0 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
3. .NET framework คืออะไร
.NET framework เป็นซอฟแวร์ไลบรารีที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft เพื่อรันแอพพลิเคชันประเภทต่างๆ ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows โปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับ .NET framework นั้นจะทำงานโดย Common Language Runtime (CLR) ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันที่ให้บริการเซอร์วิสในด้านความปลอดภัย การจัดการหน่วยความจำ และการควบคุมข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะโปรแกรมรัน
4. C# คอมไพล์เลอร์ คืออะไร
คอมไพล์เลอร์ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แปลงโค้ดจากภาษาโปรแกรมระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปประมวลผลได้ โดยภาษาดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบของตัวเลขฐานสอง ซึ่งมีเพียงแค่ 1 และ 0 เท่านั้น
ในการที่จะเขียนโปรแกรมภาษา C# เราต้องการคอมไพล์เลอร์ที่จะแปลงโค้ดที่เราเขียนไปเป็นภาษาเครื่อง (รูปแบบเลขฐานสอง) ซึ่งมันเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์จะใช้สร้างโปรแกรมขึ้นมา
5. ข้อดีของภาษา C# มีดังนี้
1. เป็นภาษาที่เขียนง่าย ไม่ซับซ้อนและเรียบง่าย เพราะคล้ายภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ ทาให้หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก
2. เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาสาหรับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้แนวคิด .NET Framework ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน
3. เป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบน .NET Framework (ดอตเน็ต-เฟรมเวิร์ก) โดย .NET Framework เป็นรูปแบบในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ซึ่งบริษัทไมโครซอฟท์เป็นผู้พัฒนา ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของ .NET Framework ก็คือ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่แตกต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา เช่น เครื่องพีซีกับเครื่องแมคหรือ ระบบปฏิบัติการวินโดว์กับระบบปฏิบัติการแมคอินทอช เป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจึงสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ได้โดยง่าย รวดเร็ว และไม่ต้องติดข้อจำกัดต่างๆ อย่างเช่นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อนอีกต่อไป
4. เป็นภาษาที่แข็งแกร่ง เพราะเป็นภาษาที่ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ เหล่านั้น ทาให้ ภาษา C# เป็นภาษาที่มีความสมบูรณ์ตามแบบฉบับของโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ(object-oriented programming)
6. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา C# นั้น มีเครื่องมือมากมายที่จะถูกนำมาใช้งาน แต่มีเครื่องมือหนึ่งที่มีความสามารถช่วย
อำนวยความสะดวกสบายให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวก็คือ โปรแกรม Microsoft Visual Studio นั่นเอง
Visual Studio เป็นซอฟต์แวร์ประเภท IDE (Integrated Development Environment) ซึ่งเป็นการนำแนวความคิดการทำงานแบบรวมศูนย์มาใช้ คือ การทำให้วงจรการพัฒนาระบบทั้งหมดทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ ง่ายดาย เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ ออกแบบจนถึงการนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นๆ (รายละเอียดของโปรแกรม Microsoft Visual C# จะกล่าวอีกครั้งในหัวข้อต่อไป) ซึ่งในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์นี้เราได้เลือกใช้โปรแกรม Microsoft Visual C# เวอร์ชัน 2015 เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาโปรแกรม
ทำความรู้จักโปรแกรม Microsoft Visual C# 2015
Microsoft Visual C# เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมในภาษา C# ซึ่งภาษา C# เป็นภาษาโปรแกรมยุคใหม่ที่ถูกสร้าง
ขึ้นมาสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ภายใต้เทคโนโลยี Microsoft .NET ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน
Microsoft Visual C# นั้นถูกแนะนำครั้งแรกพร้อมกับ Visual Studio.NET ในชื่อของ Visual C#.NET แต่มาโด่งดังและได้รับความนิยมในเวอร์ชันถัดมา คือ visual C# 2005 ซึ่งได้รับการพัฒนาให้รองรับการพัฒนา แอพพลิเคชันรูปแบบต่างๆ ได้มากมายทั้งที่เป็นแอพพลิเคชั่นบน Window, mobile เป็นต้น
Visual Studio 2015 สามารถรองรับการพัฒนาโปรแกรม 3 ช่องทาง คือ
1. พัฒนาโปรแกรมสำหรับ PC (หรือโน๊ตบุ๊ค)
2. พัฒนาโปรแกรมบนเว็บ (ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม)
3. พัฒนาโปรแกรมสำหรับมือถือและแท็บเล็ต (IOS ,Android และ Window Apps)
อีกทั้งไมโครซอฟต์ได้พัฒนาวินโดว์ 10 ขึ้นมา ทำให้มือถือ หรือ PC กลายเป็นโลกเดียวกันจึงส่งผลให้นักพัฒนา รวมไปถึงผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ซ้ำซ้อนหลายขั้นตอนอีกต่อไป
สำหรับการใช้งานโปรแกรม Microsoft Visual C# 2015 สามารถดาวโหลดมาใช้งาน ซึ่งมี 3 เวอร์ชั่นย่อย คือ
-
Community 2015
-
Professional 2015
-
Enterprise 2015
ทั้ง 3 เวอร์ชั่นมีความแตกต่างกัน แต่สำหรับการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ควรเลือกใช้ Community ก็เพียงพอ
ทำไมจึงต้องเป็นภาษา C# และ Visual C# 2015
หากถามถึงเหตุผลว่าทำไมจะต้องเป็นภาษา C# และ โปรแกรม Visual C# 2015 ขอสรุปเป็นเหตุผล 2 ส่วน ดังต่อไปนี้
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ผู้สอนเองก็เป็นบุคคลหนึ่งมีความชื่นชอบในตัวภาษา C# และโปรแกรม Visual C# 2015 ที่มีความง่ายในการใช้งาน เข้าใจได้ไม่ยาก ไม่ต้องเสียเวลาศึกษานาน มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรม อีกทั้ง Window Application ในโปรแกรม Visual C# 2015 จะทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพของการเขียนโปรแกรมได้อย่างชัดเจน และจะทำให้ผู้เรียนเริ่มต้นการเขียนโปรแกรมครั้งนี้ได้อย่างมีความสุข