เกม UNOLOGIC
เกม UNOLOGIC เรื่อง ประพจน์และค่าความจริง วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ชั้น ม.4
นางสาวกาญจนา โนหลักหมื่น โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์เป็นวิชาเพิ่มเติมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื้อหาวิชาจะเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ได้แบ่งเป็น 3 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 ระบบจำนวน หน่วยที่ 2 คอมพิวเตอร์กับเลขฐาน และหน่วยที่ 3 ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์ จากประสบการณ์
การสอนวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์มา 5 ปี พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการจดจำตารางค่าความจริงส่งผลให้คะแนนนักเรียนบางคนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของหน่วยการเรียนรู้นั้นจากการพบเห็นนักเรียนตามบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน นักเรียนมักจะนั่งล้อมวงเล่นเกม UNO จึงได้สังเกตการณ์พบว่านักเรียนมีความสนุกสนาน เฮฮา ทำให้เกิดไอเดียที่จะนำเกม UNO มาผนวกกับความรู้ในห้องเรียน จนเกิดเป็นเกม UNOLOGIC ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประพจน์ และค่าความจริง โดยครูได้นำกติกาของเกม UNO มาใช้ เพียงแต่ปรับกติกาบางข้อให้เข้ากับเนื้อหา และเพิ่มความท้าทาย สนุกสนาน จุดเด่นของเกม UNOLOGIC นี้
จะอยู่ที่การวางแผนให้ตนเองเป็นผู้ชนะ ขึ้นอยู่กับการเลือกวางการ์ดในมือให้เชื่อมประพจน์กับการ์ดที่หงายไว้ หากได้คำตอบเป็นจริงคนซ้ายมือจะได้เล่น แต่หากเป็นเท็จคนขวามือจะได้เล่น จุดนี้จะใช้ค่าในตารางตรรกศาสตร์มาใช้ และเป็นความท้าทายของการวางแผนหรือแกล้งเพื่อนทำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ นอกจากนี้นักเรียนยังได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย
การออกแบบเกม UNOLOGIC นี้ มีหลักการออกแบบ ดังนี้
-
ใช้โมเดลของเกม UNO ที่เป็นเกมยอดฮิตของนักเรียนในโรงเรียนแจ้ห่มวิทยา มาใช้ออกแบบเป็นเกม UNOLOGIC ซึ่งนักเรียนคุ้นเคยกับกติกาการเล่นอยู่แล้ว ทำให้เข้าถึงนักเรียนได้ไม่ยาก
-
นำ Graphic Design มาใช้ออกแบบการ์ด UNO ให้มีกราฟิกสวยงามเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้เล่นได้เป็นอย่างดี จำนวน 4 สี
สีละ 13 ใบ และมีการ์ดพลังพิเศษ 8 ใบ รวมทั้งสิ้น 60 ใบ -
สร้างความท้าทายในเกมที่เหมาะสมกับระดับทักษะของผู้เล่น ไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป
-
เกมมีโหมดช่วยเหลือในขณะที่เล่น เช่น มีการ์ดพลังพิเศษ และ มีตารางค่าความจริงมาช่วยในกรณีที่นักเรียนจำตาราง
ค่าความจริงไม่ได้ -
เกมมีความท้าทายอยู่ที่การวางแผนให้ตนเองเป็นผู้ชนะ สามารถเลือกคนเล่นซ้ายมือ หรือขวามือ ของตนเองได้จากการหงายการ์ดในมือของตนเอง
-
เกมสามารถพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียน
ลักษณะของเกม และวิธีการเล่น
ลักษณะของเกม
1. เป็นการ์ดเกม
2. ต้องทิ้งไพ่จากในมือลงกองให้หมด ใครหมดก่อนชนะ
3. มีไพ่ทั้งหมด 60 ใบ
4. ไพ่ จะมี 4 สี
5. ไพ่แต่ละสี จะประกอบด้วย สัญลักษณ์ และ หรือ ถ้าแล้ว ก็ต่อเมื่อ และ +2 draw และ +4 draw และเปลี่ยนสี (wild card) ซึ่ง 3 อันหลังคือไพ่พิเศษ
วิธีการเล่น
1. เล่นได้ 2 - 6 คนต่อครั้ง
2. แจกไพ่เริ่มต้นคนละ 5 ใบ
3. คนแจกเปิดไพ่จากกองมา 1 ใบ เพื่อวางเป็นไพ่เริ่มต้น
4. คนแจก เริ่มเล่น โดยอ่านการ์ดที่หงายและบอกค่าความจริง จากนั้นวางไพ่ในมือ 1 ใบ แล้วนำไปเชื่อมกับไพ่ที่หงายอยู่
(ต้องเป็นสีเหมือน หรือสัญลักษณ์ เหมือนกับไพ่ที่หงายอยู่ อย่างใดอย่างหนึ่ง) โดยใช้สัญลักษณ์ของไพ่ที่หงายไว้เป็นหลัก
แล้วบอกค่าความจริงที่ได้ หากค่าเป็นจริง คนซ้ายมือจะได้เล่น แต่หากเป็นเท็จ คนขวามือจะได้เล่นแทน
5. ถ้าไม่มีสีเหมือนหรือสัญลักษณ์เหมือนให้จั่วขึ้นมา 1 ใบ ถ้าใบที่จั่วขึ้นมา สามารถใช้ลงได้ก็ลงได้ทันที ไม่ต้องข้าม
6. ถ้ามีคนลงไพ่ +2 draw two คนต่อไป ต้องจั่ว 2 ใบทันที และข้ามไปเลย
7. ถ้ามีคนลงไพ่ +4 draw คนต่อไป ต้องจั่ว 4 ใบทันที และข้ามไปเลย
8. ถ้ามีคนลงไพ่ wild card จะลงได้ทุกเมื่อ ได้ทุกสี ทุกสัญลักษณ์ และต้องบอกว่าเลือกสีใดด้วย
9. ไพ่พิเศษ +2 และ +4 ไม่สามารถลงทบกันได้ เช่น มีคนลง +2 คนต่อไปก็ต้องจั่วถึงแม้ว่าจะมี +2 ในมือก็ตาม
10. เมื่อทิ้งไพ่จนเหลือใบเดียว ต้องพูด UNO ทันที หากไม่พูด จนกระทั่งคนต่อไปจั่ว หรือทิ้งไพ่ จะต้องโดนปรับด้วยการจั่วเพิ่ม
2 ใบทันที
11. เกมจะจบทันที เมื่อมีคนทิ้งไพ่จนหมดมือคนแรก