top of page

การใช้แหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์วิถีบูรณาการการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ เรื่อง ปี๋ใหม่ม่วนงัน ปากั๋นตัดตุง

ก้อนอักษร

โครงการการใช้แหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์วิถีบูรณาการการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ

เรื่อง ปี๋ใหม่ม่วนงัน ปากั๋นตัดตุง  วิชาภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

นางสาวกาญจนา  โนหลักหมื่น

ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา

       ด้วยโรงเรียนแจ้ห่มวิทยาได้จัดการเรียนการสอนวิชาภาษาซีให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางของ สสวท. เนื้อหาวิชาจะเกี่ยวข้องกับกับการนำเทคโนโลยีมาสร้างเป็นโปรแกรมด้วยภาษาซี โดยจะเป็นการสอนระบบความคิดให้นักเรียนสามารถลำดับวิธีการแก้ปัญหาในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่าอัลกอริทึม แล้วใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีก็คือภาษาซี ในการถ่ายทอดการแก้ปัญหาออกมาในรูปแบบของระบบต่างๆ ที่นักเรียนพัฒนาขึ้นมา จากประสบการณ์การสอนมาตลอดระยะเวลา 15 ปี  พบว่านักเรียนส่วนใหญ่จะคิดว่าวิชานี้ยาก เนื้อหาซับซ้อน ไม่สามารถเขียนโปรแกรมได้ด้วยตนเอง จึงทำให้ครูผู้สอนคิดหาวิธีแก้ปัญหานี้ เมื่อครูผู้สอนพยายามเก็บข้อมูล บันทึกผลคะแนน สังเกตการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทำให้พบว่าต้นตอของการเขียนโปรแกรมไม่ได้ก็คือ นักเรียนไม่เข้าใจขั้นตอนการแก้ปัญหา หรือ อัลกอริทึม ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ขั้นตอนถัดไปคืออะไร และจะถ่ายทอดออกไปเป็นโปรแกรมได้อย่างไร การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มักเน้นเนื้อหาเชิงทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น ส่งผลให้นักเรียนขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้และไม่เห็นความเชื่อมโยงระหว่างทักษะการเขียนโปรแกรมกับชีวิตประจำวัน นอกจากนี้แล้วการละเลยการบูรณาการอัตลักษณ์วิถีในหลักสูตรการเรียนการสอน ยังอาจนำไปสู่การสูญหายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอันมีค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือที่มีประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์อย่างเทศกาลปี๋ใหม่เมืองหรือวันสงกรานต์ไทยในเดือนเมษายนของทุกปี จะเห็นว่าในเทศกาลปี๋ใหม่เมืองของคนภาคเหนือ จะมีพิธีกรรมขนทรายเข้าวัด พร้อมประดับตกแต่งด้วยตุงไส้หมู ตุงประจำปีเกิด โดยมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันประเพณีและพิธีกรรมดั้งเดิมกำลังจะค่อยๆ ผิดเพี้ยนไปตามยุคสมัย เรามักจะไม่ค่อยพบพิธีกรรมขนทรายเข้าวัดและประดับไปด้วยตุงรูปแบบต่างๆ เหมือนในสมัยก่อนแล้ว เนื่องด้วยไม่มีการสืบทอดการทำตุงของสล่าตุงให้กับคนรุ่นหลัง

       ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนจึงคิดว่าเนื้อหาที่ใช้สอนมีความซับซ้อน ต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อให้เกิดเป็นทักษะการแก้-ปัญหาที่จะนำไปสู่เป้าหมายของวิชาภาษาซีได้ จึงทำให้เนื้อหาไม่สามารถเข้าถึงนักเรียน และอาจจะไม่เหมาะสมแล้วกับนักเรียนในยุคใหม่ หากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมและเนื้อหาให้ใกล้ตัวนักเรียนมากขึ้น แต่ยังคงรูปแบบตามหลักของวิชา ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น จึงได้เกิดการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้บูรณาการอัตลักษณ์วิถี เรื่อง "ปี๋ใหม่ม่วนงัน ปากั๋นตัดตุง" ขึ้น ที่เชื่อว่าจะมีความสำคัญอย่างยิ่งกับนักเรียน นวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมล้านนาแต่ยังเป็นการสร้างบริบทที่มีความหมายสำหรับการเรียนรู้ในวิชาภาษาซี การนำเอาประเพณีท้องถิ่นมาเป็นโจทย์ในการพัฒนาโปรแกรมจะช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ทำให้เห็นการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จริง และสร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาผ่านการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถิ่น  ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้แบบองค์รวม พัฒนาทักษะการคิดเชื่อมโยงและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน นักเรียนจะได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรม ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัล อีกทั้งวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศนี้จะช่วยสร้างพลเมืองที่มีความรู้ทางเทคโนโลยี มีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น มีทักษะการแก้ปัญหาที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาทักษะอาชีพให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและตนเองในอนาคตได้

ขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญ ตอบแบบประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ

1297528_fa90_3-removebg-preview.png
1297528_fa90_3-removebg-preview.png
1297528_fa90_3-removebg-preview.png
1297528_fa90_3-removebg-preview.png
download-icon.png
download-icon.png
download-icon.png
download-icon.png

ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง

bottom of page